สับปะรด
เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่า จุก เปลือก ของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผลแต่ละท้องถิ่นเรียกสับปะรดแตกต่างกันออกไปเช่น ภาคกลาง เรียกว่า "สับปะรด"
ภาคอีสาน เรียกว่า "บักนัด"
ภาคเหนือ เรียกว่า "มะนัด, มะขะนัด, บ่อนัด"
ภาคใต้ เรียกว่า "ย่านัด, ย่านนัด, ขนุนทอง,มะลิ"
ลักษณะของสับปะรด
รูปลักษณะ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกช่อออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลายสับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้นจะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก และสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือพวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือเรียกว่า ไม้ดิน, พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับ, และพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน
ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
สับปะรดต้องการอากาศค่อนข้างร้อนอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 23.9-29.4℃ ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอยู่ในช่วง 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี แต่ต้องตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี และมีความชื้นในอากาศสูงสับปะรดชอบขึ้นในดินร่วน,ดินร่วนปนทราย,ดินปนลูกรัง,ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท เช่น ที่ลาดเชิงเขา สภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินควรเป็นกรดเล็กน้อย คือตั้งแต่ 4.5-5.5 แต่ไม่เกิน 6.0
ฤดูกาลของสับปะรด
-ช่วงเก็บเกี่ยวในฤดู ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน-มกราคม และกลางเดือน เมษายน - กรกฏาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตมาก ในตลาดมีราคาถูก-ช่วงเก็บเกี่ยวนอกฤดู ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ต้นเดือนเมษายนและเดือนสิงหาคม - ตุลาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตน้อย ราคาแพง
แหล่งที่ปลูกสับปะรดในประเทศไทย
เนื่องจากความทนทาน ทำให้ปลูกได้ในดินแทบทุกแห่งในประเทศไทย แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทยอยู่ในพื้นที่ใกล้ทะเล ได้แก่
-จังหวัดอุตรดิษถ์
-จังหวัดลำปาง
-จังหวัดพิษณุโลก
-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
-จังหวัดเพชรบุรี
-จังหวัดชลบุรี
-จังหวัดระยอง
-จังหวัดฉะเชิงเทรา
-จังหวัดจันทบุรี
-จังหวัดตราด
และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ เช่น ภูเก็ต พังงา ชุมพร
พันธุ์สับปะรดที่นิยมปลูกในประเทศไทย
พันธุ์ปัตตาเวีย หรือเรียกว่า สับปะรดศรีราชา นิยมปลูกทั่วไป ผลใหญ่ ฉ่ำน้ำ เนื้อสีเหลืองอ่อนพันธุ์อินทรชิต เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์ขาวพันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี นิยมปลูกทางภาคใต้ ใบมีแถบสีแดงที่ตอนกลางใบ กลีบดอกสีม่วงอ่อน ผลเล็กเปลือกหนาเนื้อสีเหลืองเข้ม หวานกรอบพันธุ์นางแล หรือ พันธุ์น้ำผึ้ง นิยมปลูกในจังหวัดเชียงราย ผลกลม ตานูน เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองเข้ม รสหวานจัดพันธุ์ตราดสีทองพันธุ์ภูแล
พันธุ์ห้วยมุ่นพันธุ์เพชรบุรี ผลย่อยติดกันไม่แน่น แกะออกมารับประทานได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก แกนผลรับประทานได้ รสหวานอมเปรี้ยว
สรรพคุณทางสมุนไพร
-ช่วยบรรเทาอาการแผลเป็นหนอง-ช่วยขับปัสสาวะ-แก้ร้อนกระสับกระส่าย กระหายน้ำ-แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะไม่ออก-บรรเทาอาการโรคบิด-ช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน-แก้ท้องผูก-เป็นยาแก้โรคนิ่ว-แก้ส้นเท้าแตก-ส่วนของรากสับปะรด นำมาใช้เป็นยาแก้กระษัย บำรุงไตได้
ประโยชน์ของสับปะรด
สับประรดเพื่อสุขภาพ